Skip to main content

การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)


MU-LI


นักศึกษาที่เรียนผ่านเกณฑ์ในรายวิชา
จะได้รับชั่วโมง AT จำนวน 10 ชั่งโมง ภายใต้กิจกรรมหลัก Mahidol HIDEF ด้าน Digital literacy

ติดต่อสอบถาม : กองกิจการนักศึกษา โทรศัพท์ 02-849-4501-28

คำอธิบายรายวิชา

เป็นวิชาพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เหมาะสำหรับนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปที่ประสงค์จะพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 เน้นการรู้สารสนเทศในลักษณะของ Library Literacy และ Information Literacy เป็นหลัก โดยอ้างอิงจาก Information Literacy Skills ของ The Chartered Institute of Library and Information Professsionals (CILIP).

เนื้อหาวิชาประกอบด้วย สารสนเทศกับการเรียนรู้ นิยามและความสำคัญของการรู้สารสนเทศ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ แหล่งทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ การสืบค้นและการเข้าถึงสารสนเทศ การประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ การนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ จริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้สารสนเทศ การเผยแพร่ การสื่อสาร และการแบ่งปันสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมไทยให้กลายเป็น informaion-literate society

ระยะเวลาเรียนทั้งหมด

10 ชั่วโมง จำนวน 10 สัปดาห์

กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย

นักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา และผู้สนใจทั่วไป

คุณสมบัติผู้เรียน

มีความรู้พื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์

การวัดประเมินผลการเรียนรู้ และเกณฑ์การให้คะแนน

แบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความรู้ของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยเป็นแบบทดสอบจำนวน 5 ข้อต่อบทเรียน ผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์การประเมินผลต้องมีคะแนนผ่าน 60% ของแบบทดสอบทุกชุด และสามารถทำแบบทดสอบได้เพียง 1 ครั้ง ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลในระดับ 80% ขึ้นไปจะได้รับใบรับรองการผ่านหลักสูตร โดยมีเกณฑ์การวัดผลดังนี้ Excellent 90% ขึ้นไป Good 80-89% Pass 60-79%

ขั้นตอนการเรียนรู้

1. ศึกษาคำแนะนำ และวิธีการใช้บทเรียนออนไลน์ให้เข้าใจก่อนทำการเรียนในบทเรียน รวมทั้งศึกษาคำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ และเกณฑ์การวัดและประเมินผล

2. เนื้อหาแต่ละบทเรียนประกอบด้วยคลิปวิดีโอ สื่ออินโฟกราฟิกผสมแอนิเมชั่น และมีเอกสารอ่านเพิ่มเติมประกอบทุกบทเรียน

3. เมื่อศึกษาเนื้อหาบทเรียนเสร็จแล้ว ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบ (สามารถทำได้เพียง 1 ครั้ง )เมื่อทำแบบทดสอบหลังเรียนเสร็จระบบจะตรวจสอบคำตอบและแจ้งคะแนนให้ทราบโดยอัตโนมัติ

คณะ/ส่วนงานที่รับผิดชอบ

หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะทำงานพัฒนาบทเรียนออนไลน์

Course Staff Image #1

ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล

ที่ปรึกษาโครงการ

Course Staff Image #1

ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล

หัวหน้าโครงการ

Course Staff Image #1

นางอังคณา อินทรพาณิชย์

รับผิดชอบเนื้อหาบทที่ 2 ,นักแสดง(บทสัมภาษณ์แหล่งสารสนเทศ)

Course Staff Image #1

นางสาวศศิธร วงศ์โพธิสาร

รับผิดชอบเนื้อหาบทที่ 1 (ร่วม)

Course Staff Image #1

นางสาวโสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี

จัดทำผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes), ประสานงานเว็บไซต์, นักแสดง, ตรวจ/แก้แบบทดสอบบทเรียนที่ 1-8 , เนื้อหาบทที่ 2

Course Staff Image #1

นางสาวปิยธิดา เทพวงค์

รับผิดชอบเนื้อหาบทที่ 6 , ตรวจ/แก้บทละครบทเรียนที่ 1-8 , ตรวจ/แก้บทบรรยายบทเรียนที่ 1-8 , ประสานงาน, อาคารสถานที่

Course Staff Image #1

นางสาวระวิภร พิมพขันธ์

รับผิดชอบเนื้อหาบทที่ 3 , บทละครบทเรียนที่ 1-8 , เสียงบรรยายบทเรียนที่ 1-8, ประสานงาน,

Course Staff Image #1

นางสาววราภรณ์ เหล่านิติศาสตร์

นักแสดงบทเรียนที่ 6, เนื้อหาบทที่ 7, เนื้อหาบทที่ 3 (ร่วม)

Course Staff Image #1

หม่อมหลวงรติกร วรวุฒิ

รับผิดชอบเนื้อหาบทที่ 8

Course Staff Image #1

นายกฤษฎา แก้วผุดผ่อง

ประสานงานด้านระบบ Edx

Course Staff Image #1

นายธวัชชัย สิงห์ตาก้อง

ช่างภาพ, ซับไตเติ้ล, จัดการเว็บไซต์รายวิชา, บันทึกเสียง

Course Staff Image #1

นายมารุต คล่องแคล่ว

ผู้กำกับภาพ, ตัดต่อวิดีทัศน์, กราฟิก, ช่างภาพ

WEBSITE

Enroll